โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแบบเข้าใจง่าย

African Swine Fever (ASF) หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรงที่เกิดกับสัตว์ในตระกูลสุกรทุกชนิด (สุกรเลี้ยงและสุกรป่า) แต่ไม่ใช่โรคจากสัตว์สู่คน สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุของสุกร การเกิดโรคมักมีการระบาดรุนแรงทำให้สัตว์ที่ติดเชื้อตายเกือบหมดภายในระยะเวลาเพียงสองอาทิตย์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันและควบคุมโรคนี้ทำให้การเกิดโรคระบาดส่งผลกระทบรุนแรงโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

 

อาการที่ปรากฏชัดคือตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออก หรือรอยช้ำโดยเฉพาะหลังใบหู ท้อง และขาหลัง รวมถึงอาการทางระบบอื่นๆด้วย เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และการแท้งในสุกรแม่พันธุ์


ในปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่อง และพบการระบาดแล้วทั้งหมด 30 ประเทศ แบ่งเป็น ทวีปแอฟริกา 7 ประเทศ ทวีปยุโรป 12 ประเทศ และทวีปเอเชีย 11 ประเทศ สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโรค เนื่องจากประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561

กราฟิก

ปัจจัยและความเสี่ยงในการรับเชื้อเข้าสู่ฟาร์ม

  1. การนำเข้าสุกรและน้ำเชื้อ
  2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสุกร
  3. การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์
  4. การเชือดสุกรในโรงฆ่าสัตว์
  5. การแปรรูปสุกรในโรงงานแปรรูป
  6. การขนส่งสุกรที่ติดเชื้อ
  7. การเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม
  8. การใช้แรงงานจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
  9. การนำเศษอาหารที่ปนเปื้อนมาเลี้ยงสุกร
  10. การถูกเห็บที่มีเชื้อกัด
  11. การสัมผัสกับสุกรป่า

 

รูปแบบการติดเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่งของสุกรที่ติดเชื้อ
  2. การติดต่อผ่านสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
  3. การกินวัตถุดิบอาหารที่ปนเปื้อน
  4. การกินเศษอาหารที่มีเนื้อสุกรปนเปื้อน
  5. การสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์มที่ปนเปื้อน
  6. การสัมผัสรถขนอาหารสัตว์และรถขนย้ายสัตว์
  7. การสัมผัสกับบุคคลที่ปนเปื้อนเชื้อ

 

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีน ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ฟาร์ม จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคนี้ โดยเกษตรกรสามารถทำได้ ดังนี้

  1. มีอ่างจุ่มรองเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
  2. ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในฟาร์ม
  3. ทำความสะอาดโรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  4. ควบคุมการเข้า-ออกภายในฟาร์มของคน สัตว์ และยานพาหนะ
  5. จำกัดการเข้าเยี่ยมฟาร์มของบุคคลภายนอก
  6. กำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
  7. ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นในบริเวณฟาร์ม
  8. นำวัตถุดิบอาหารสัตว์ไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 °C
  9. งดให้เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคแก่สุกร
  10. บุคคลที่มีหน้าที่ภายในฟาร์มควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุกรและสัตว์ภายนอกฟาร์ม
  11. ห้ามนำสัตว์ ซากสัตว์ เลือด น้ำเชื้อ ตัวอ่อน ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศสุ่มเสี่ยงเข้ามาในฟาร์ม

ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อ Huwa-San TR-50 จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันไม่ให้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมาติดในสุกรที่เลี้ยง โดยสามารถนำมาใช้จุ่มรองเท้า ฆ่าเชื้อภายในโรงเรือน ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในฟาร์ม ไปจนถึงการฆ่าเชื้อในน้ำดื่มสำหรับสุกร โดยวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้นมี ดังนี้

  • สำหรับใช้จุ่มรองเท้า ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ฉีดพ่นยานพาหนะ และฉีดพ่นภายในโรงเรือนระหว่างพักเล้า ให้ผสม Huwa-San TR-50 5-10 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์
  • สำหรับใช้ฉีดพ่นใส่คนก่อนเข้า-ออกจากฟาร์ม ให้ผสม Huwa-San TR-50 80-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์
  • สำหรับใช้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่มสัตว์ ให้ผสม Huwa-San TR-50 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ใช้ต่อเนื่องภายในระบบน้ำดื่มสัตว์
  • สำหรับใช้ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบนซากสัตว์ ให้ผสม Huwa-San TR-50 60-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • www.dld.go.th
  • pasusart.com และ Pasusart Youtube channel
  • siamrath.co.th

ขอขอบคุณรูปภาพจาก

  • www.greenery.org
  • www.hatyaifocus.com
  • www.bbc.com

แสดงความคิดเห็น